วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศึกษาดูงานด้านการเรียนการสอนและการอบรมทักษะภาษาอังกฤษ ณ ประเทศอังกฤษ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ 2 แจ้งประชาสัมพันธ์การศึกษาดูงานด้านการเรียนการสอนและการอบรมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูภาษาอังกฤษและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ประจำปี 2554 ณ สถาบัน Kaplan International College เมือง Edinburgh,Scotland ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 4 - 23 เมษายน 2554 ระยะเวลา 2-3 สัปดาห์
โดยผู้เข้าร่วมโครงการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดในราคาประหยัด ตามหนังสือ สพป.สกลนคร เขต 2 ที่ ศธ 04143/5343 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2553 (ได้ส่งไปทาง e-filing ให้กับทุกโรงเรียนแล้ว)
หรือ คลิกที่นี่
                                     







หมายเหตุ : ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อสอบถาม หรือส่งใบสมัครพร้อมหลักฐาน
ตามรายละเอียดได้ที่ ศน.ปลาทอง  ไชยเชษฐ Tel : 084-955-3-955
ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554
เพื่อรวบรวมส่ง สพม.2 ต่อไป

คลิกดู Link ที่เกี่ยวข้องตาม website ด้านล่างค่ะ






วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

10 เคล็ดลับในการจำศัพท์ภาษาอังกฤษ


ความเกี่ยวเนื่อง: ถ้าคุณจัดคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผังจะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น

เขียน: การนำคำศัพท์นั้นมาใช้จะทำให้คุณจำได้ฝังใจยิ่งขึ้น ลองเขียนแต่งประโยคโดยนำศัพท์ใหม่ที่เรียนนั้นมาประกอบหรือแต่งเรื่องโดยใช้กลุ่มคำศัพท์หรือสำนวนที่เรียนอยู่

วาดรูป: ดึงวิญญาณศิลปินในตัวคุณออกมาใช้ โดยการวาดรูปที่แสดงถึงศัพท์ที่คุณเรียนอยู่ ภาพที่คุณวาดจะช่วยกระตุ้นความทรงจำถึงศัพท์นั้นในอนาคต

แสดง: แสดงท่าทางประกอบคำศัพท์หรือสำนวนที่คุณกำลังเรียนอยู่ หรือจินตนาการว่าคุณจะแสดงออกอย่างไรในสถานการณ์ที่คุณต้องใช้ศัพท์คำนั้น

สร้าง: ออกแบบ flashcards ศัพท์ภาษาอังกฤษพร้อมความหมายแล้วเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง ทำเล่มใหม่ขึ้นทุกอาทิตย์และอย่าลืมทบทวนอันเก่าไปพร้อมๆ กันด้วย

ความสัมพันธ์: กำหนดแต่ละสีให้แต่ละคำศัพท์ ความสัมพันธ์ของแต่ละคู่จะช่วยให้คุณจำศัพท์นั้นได้แม่นขึ้นเมื่อนึกถึงคำนั้นในคราวต่อไป

ฟัง: นึกถึงศัพท์คำอื่นที่ออกเสียงคล้ายๆ กับคำศัพท์ใหม่ที่คุณพยายามเรียนอยู่ ใช้ความสัมพันธ์ตรงจุดนี้ในการช่วยให้คุณจำการออกเสียงของคำใหม่นั้น

เลือก: จำไว้ว่าการเรียนในหัวข้อที่คุณชอบหรือสนใจจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันง่ายขึ้น ฉะนั้นคุณควรใส่ใจในการเลือกคำศัพท์ที่คุณคิดว่ามีประโยชน์หรือน่าสนใจ เพราะแม้แต่กระบวนการเลือกคำที่จะเรียนก็มีผลให้คุณจำได้แม่นและเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน !

ข้อจำกัด: คุณก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนเราจะจำศัพท์ที่มีอยู่ในดิกชันนารี่ทั้งหมดได้ในวันเดียว เพราะฉะนั้นจำกัดการเรียนศัพท์ใหม่แค่วันละ 15 คำก็พอแล้ว ซึ่งถ้าพยายามจำให้มากคำเกินไปกว่านี้แทนที่มันจะทำให้คุณรู้สึกมั่นใจกลับจะทำให้คุณสมองตื้อแทน

สังเกต: พยายามสังเกตหาคำศัพท์ที่คุณกำลังเรียนอยู่เมื่ออ่านหรือฟังภาษาอังกฤษ 


ขอบคุณที่มา www.kroobannok.com 

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาภาษาอังกฤษ เตรียมเด็กไทยสู่เวทีโลก

อ่านข่าวเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการพัฒนาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนแล้วน่าสนใจมากและคิดว่าคงเป็นประโยชน์ต่อคุณครู จึงนำข่าวนี้มาฝากค่ะ


ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ในปีล่าสุด ที่ดำเนินการโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) โดยจัดสอบ 8 กลุ่มสาระทุกช่วงชั้นคือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า
>>>ในระดับชั้น ป.6 มีผู้เข้าสอบประมาณ 898,000 คนวิชาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือภาษาอังกฤษ 31.75 และค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สุขศึกษาและพลศึกษา64.75 ส่วน>>>ชั้น ม.3 มีผู้เข้าสอบ794,000 คน วิชาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ภาษาอังกฤษ 22.54 และค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สุขศึกษาและพลศึกษา 56.70
>>>สำหรับชั้น ม.6 มีผู้เข้าสอบ 350,000 คน วิชาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ภาษาอังกฤษ23.98 ส่วนค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ภาษาไทย46.47 จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดทุกระดับชั้นทั้ง ป.6 ม.3 และ ม.6 แม้ว่าทุกวันนี้เด็กไทยจะมีแนวทางและโอกาสในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่หลากหลายขึ้น ทั้งจากครูผู้สอนในห้องเรียน สื่อ เพลงภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต แต่ยังมีคำถามเสมอว่า ทำไมเด็กไทยปัจจุบันพัฒนาการทางภาษาอังกฤษยังไม่ได้แตกต่างไปจากสมัยก่อนมากนัก หลายคนมีมุมมองเสนอทางออกที่แตกต่าง เช่น ถึงเวลาที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนใหม่ ควรปรับวิธีการถ่ายทอดของครูใหม่ ควรจัดครูสอนที่ตรงวุฒิควรปรับหลักสูตรใหม่เป็นต้น
จริง ๆ แล้วคงไม่มีสูตรสำเร็จรูปใดที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ในการแก้ไขปัญหาของเด็กแต่ละคน แต่ย่อมจำเป็นต้องใช้วิธีการที่มีความแตกต่างหลากหลาย กรณีกลุ่มเด็กที่มีความสน ใจกระตือรือร้นที่จะเรียนสามารถเลือกใช้วิธีการใดก็ได้ แต่สำหรับเด็กกลุ่มอื่น ๆ ต้องไม่มองข้ามความแตกต่างของเด็กแต่ละคน เช่น ฐานะของครอบครัว การศึกษาของพ่อแม่ สภาพแวดล้อมของเด็กการเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยี เป็นต้น 


มีหลากหลายวิธีที่เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาภาษาอังกฤษของเด็กไทยเช่น การสอนให้นักเรียนรู้คำศัพท์จำนวนมาก เพราะปัญหานักเรียนรู้ศัพท์น้อยนั้นเป็นสาเหตุสำคัญโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และยังก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องอีกหลายอย่างตามมา การสอนภาษาอังกฤษในแต่ละชั่วโมงจำเป็นต้องให้นักเรียนได้ฝึกครบทุกทักษะทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นต้น 
\"การที่จะแก้ปัญหาภาษาอังกฤษบกพร่องของคนไทยนั้น เราควรจะรวมวิธีการสอนแบบโฟนิคส์ และวิธีสอนอ่านเป็นคำเข้าด้วยกัน ซึ่งมี 7 ขั้นตอนในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้เกิดความชำนาญและคล่องแคล่วที่รวมทุกทักษะ คือ ฟังพูด อ่าน และเขียนเข้าด้วยกัน เป็นการสอนภาษาอังกฤษด้วยกรอบของทฤษฎีใหม่วิธีสอนอ่านที่ได้ผลที่สุดจะต้องประกอบด้วยการปูพื้นฐาน 3 ประการคือ

 (1) การฝึกให้รู้จักหน่วยเสียงทุกเสียงของภาษาอังกฤษ (phonemic awareness) หรือการฟัง 
(2) การฝึกโฟนิคส์ (phonics) เพื่อเชื่อมโยงตัวอักษรกับหน่วยเสียง หรือการฝึกอ่านออกเสียงอย่างเป็นระบบ
 (3)การฝึกทักษะภาษาอังกฤษต่อด้วยวิธีการของการสอนอ่านเป็นคำ (whole word method) หรือแบบองค์รวม (whole language) โดยต้องฝึกจนชำนาญ แล้วควรนำความรู้มาใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติจริงเช่น อ่านนิทาน สารคดี ข่าว บทความเพราะถ้าผู้เรียนอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้นเท่าใด โอกาสที่เขาจะเขียนเก่งก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น นี่เป็นทฤษฎีใหม่ในการสอนภาษาอังกฤษที่รวมการพัฒนาทุกทักษะเข้าด้วยกัน\" จากข้อเขียนบางตอนของดร.อินทิรา ศรีประสิทธิ์ 

มื่อประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งสมาชิกที่กำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ ภาษาอังกฤษยิ่งทบทวีความสำคัญและความจำเป็นมากขึ้น คงถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการวางแผนและเตรียมพร้อมพัฒนาเด็ก เยาวชน และคนไทยให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมคาดหวัง ครูผู้สอนซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาสังคม ต้องมีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ใฝ่ศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลาแสวงหาเทคนิควิธีสอนใหม่ ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และผู้บริหารต้องให้ความสำคัญพร้อมสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนในการเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของภาษาประจำชาติและภาษาต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ในสังคมอาเซียนและเวทีโลกต่อไป. 



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 7 ธันวาคม 2553
สรุป : บทความ ฟาฏินา วงศ์เลขา พัฒนาภาษาอังกฤษ เตรียมเด็กไทยสู่เวทีโลก 

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐานรายวิชาภาษาอังกฤษ สพป.สกลนคร เขต 2

วันที่ 7-8 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งประชุมปฏิบัติการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย ศน.สนธยา  หลักทอง  ศน.ปลาทอง  ไชยเชษฐ และคุณครูภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
1. นางดวงใจ  แพงศรี  ครูโรงเรียนบ้านง่อนหนองพะเนาว์ ฯ
2. นางทัศยา  จุลนีย์    ครูโรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม
3. นางบุญยนุช  พละเสน ครูโรงเรียนชุมชนบ้านฝั่งแดง
4. นางศลิษา  สัตถาพล   ครูโรงเรียนบ้านพังโคนจำปาสามัคคี
5. นายนเรศ   เปลี่ยนคำ  ครูโรงเรียนบ้านนาสีนวล
ได้ร่วมกันออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2554 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 ท่ามกลางบรรยากาศและธรรมชาติที่สวยงาม ณ ไร่ภูพานรีสอร์ท อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร   ดังภาพ